เกล็ดความรู้ในภาษาไทย

ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเอง แตกต่างจากภาษาอื่น การที่จะใช้ภาษาให้ได้ผลสมความมุ่งหมาย จะต้องรู้ลักษณะของภาษาอย่างถ่องแท้เสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถหยิบหยกหรือเลือกถ้วยคำได้ถูกต้อง ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง เป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่งนัก บางชาติไม่มีภาษาของตนเอง ต้องใช้ภาษาอื่น บางชาติมีภาษาเป็นของตนเอง แต่ต้องใช้ตัวอักษรของชาติอื่น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงกล่าวถึงอักษรไทยว่า " พ่อขุนรามคำแหงได้บัญญัติตัวอักษรไทยขึ้น โดยดัดแปลงแบบใช้กันอยู่ก่อนบ้างนั้น ก็ได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้เหมาะสมแก่ภาษาไทยเป็นส่วนมาก แต่ก็ได้มีอักษรเพิ่มขึ้นมา เพื่อถ่ายตัวอักษรบาลีสันสกฤต ซึ่งเขียนต่างกัน แต่ออกเสียงเหมือนกัน " ภาษาเขียนมีวรรคตอน ภาษาพูดมีจังหวะ ด้วยเหตุที่ภาษาไทยมีวิธีเขียนคำต่อคำต่อกันไม่มีการเว้นระยะระหว่างคำ ต่อเมื่อจบความจึงมีการเว้นวรรค วรรคตอนเป็นเรื่องสำคัญในภาษาไทย ในเรื่องการแบ่งความ การเขียนถ้าเว้นวรรคตอนผิดทำให้เสียความหรือความเปลี่ยนไป ในการพูดต้องเว้นวรรคเว้นจังหวะให้ถูกที่ เช่นเดียวกับการหยุดผิดจังหวะ ความก็เปลี่ยนไป ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะนาม ลักษณะนามคือ นามที่บอกลักษณะของนามข้างหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เราผู้เป็นเจ้าของภาษาควรจะรักษาไว้ คือรู้จักใช้ให้ถูกต้อง ลักษณะนามทำให้เข้าใจลักษณะมองเห็นภาพของนามข้าหน้า ภาษาไทยมีลักษณะที่แปลกจากภาษาอื่น ผู้เป็นเจ้าของภาษาควรใช้ให้ถูกต้อง รักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของภาษา

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส่วนตัว

คติประจำใจ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
นิสัย โกรธง่ายหายยาก อะนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น